ประวัติโรงเรียนนายสิบทหารบก

  •  ที่ตั้งหน่วย   เลขที่ ๑๒๔ หมู่ ๓  ค่ายธนะรัชต์  ตำบลเขาน้อย  อำเภอปราณบุรี   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ๗๗๑๖๐
  •  การจัดตั้ง   จัดตั้งตามคำสั่งกองทัพบก(เฉพาะ)ที่ ๑๗๑/๑๐ ลง ๒๓ มิ.ย.๑๐ มีการจัดตามอัตราเฉพาะกิจหมายเลข ๔๑๕๐ โรงเรียนนายสิบทหารบก ตามคำสั่งกองทัพบก(เฉพาะ)ที่ ๑๓๒/๔๐ เรื่อง  แก้อัตรากองทัพบก(ครั้งที่ ๙) ลง ๗ ต.ค.๔๐  แบ่งได้เป็น ๓ ห้วง ดังนี้.-  
     

ห้วงที่ ๑  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๒๘

  •  กองทัพบก มีนโยบายที่จะปรับปรุงหลักสูตรนักเรียนนายสิบทหารบกให้มีระยะเวลาศึกษา ๒ ปี โดยให้นักเรียนนายสิบทุกเหล่าเข้ารับการฝึก - ศึกษา ร่วมกันในชั้นปีที่ ๑ แล้วแยกไปศึกษาในโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการ ในชั้นปีที่ ๒ ทั้งนี้ มีความมุ่งหมายให้นายสิบประจำการของกองทัพบก เป็นผู้นำหน่วยทหารขนาดเล็ก ที่มีลักษณะทหารอย่างเด่นชัด มีระเบียบวินัย สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  •  การดำเนินการ
              ๒๔ มิถุนายน ๒๕๐๘ กรมยุทธศึกษาทหารบก ได้เชิญผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องประชุมหารือ พิจารณาวางแนวทางการจัดทำหลักสูตร นักเรียนนายสิบระยะเวลาศึกษา ๒ ปีขึ้นให้พร้อมที่จะเปิดการศึกษาได้ทันในปี ๒๕๑๐ และให้แนวทางในการปฏิบัติดังนี้.-
                ๑. ศูนย์การทหารราบ  จัดทำหลักศุตรนักเรียนนายสิบ ชั้นปีที่ ๑
                ๒. เหล่าสายวิทยาการ  จัดทำหลักศุตรนักเรียนนายสิบ ชั้นปีที่ ๒
                ๓. เลือกเหล่าเมื่อจบการศึกษาในชั้นปีที่ ๑
                ๔. ส่งนักเรียนนายสิบที่มีความรู้ และความประพฤติดีไปเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารเมื่อจบชั้นปีที่ ๑
                ๕. ให้พร้อมที่จะเปิดการศึกษาได้ตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๑๐
                ๖. ให้มีการศึกษาในวิชาสามัญ ควบคู่ไปกับการฝึก-ศึกษาวิชาทหาร

                ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๙  กองทัพบก  ออกคำสั่ง(เฉพาะ) ที่ ๓๐๖/๐๙ ให้โรงเรียนนายสิบทหารบก ขึ้นการบังคับบัญชาต่อ กรมยุทธศึกษาทหารบก และให้มีที่ตั้งปกติ ณ ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต้ในขั้นต้น ให้มีที่ตั้งชั่วคราวที่ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
                ๑๖ มกราคม ๒๕๑๐ เนื่องจากศูนย์การทหารราบจะต้องเคลื่อนย้ายจากค่ายสมเด็จพระนารายณ์
    มหาราช จังหวัดลพบุรี เพื่อไปเข้าที่ตั้งใหม่       ณ ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมยุทธศึกษาทหารบก  จึงจัดทำโครงการขึ้น  ๒ โครงการ      คือ โครงการพัฒนาศูนย์การทหารราบ และโครงการจัดตั้งโรงเรียนนายสิบทหาร     แต่เนื่องจากระยะนั้นเป็นห้วงระหว่างปีงบประมาณ  ๒๕๑๐ กระทรวงกลาโหม จึงได้อนุมัติหลักการ ให้เสนอของบประมาณในปี ๒๕๑๑
                ๑๘ เมษายน ๒๕๑๐  กองทัพบกออกคำสั่ง ที่ ๑๐๑/๒๕๑๐ บรรจุนายทหารเป็นเจ้าหน้าที่โครง และปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนนายสิบทหารบก         
                ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๐ กองทัพบกออกคำสั่ง(เฉพาะ) ที่ ๑๗๑/๑๐ จัดตั้งโรงเรียนนายสิบทหารบก  และให้เตรียมการที่จะเปิดการศึกษาได้ในปีการศึกษา ๒๕๑๑
                ๒๕ มิถุนายน ๒๕๑๑  โรงเรียนนายสิบทหารบก  เริ่มดำเนินการเคลื่อนย้ายไปเข้าที่ตั้งปกติ ตามคำสั่งกองทัพบก โดยทางรถไฟ และเสร็จสิ้นการเคลื่อนย้าย เมื่อ ๕ กรกฎาคม ๒๕๑๑
                ๒๑ สิงหาคม ๒๕๑๑  กรมยุทธศึกษาทหารบกออกคำสั่ง ที่ ๑๒๒/๒๕๑๑ มอบการบังคับบัญชา โรงเรียนนายสิบทหารบก ให้กับ ศูนย์การทหารราบ
                ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๑  เริ่มเปิดการศึกษา ตามหลักสูตรใหม่ ๒ ปี นับเป็น นักเรียนนายสิบทหารบก รุ่นที่ ๑/๒๕๑๑
                ตั้งแต่ปีพุทธศุกราช ๒๕๑๑ - ๒๕๒๔ กองทัพบก รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓(มศ.๓) เข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก หลักสูตร ๒ ปี จำนวน  ๑๔ รุ่น
                ตั้งแต่ปีพุทธศุกราช ๒๕๒๕ - ๒๕๒๘ กองทัพบก รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕(มศ.๕) เข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก หลักสูตร ๑ ปี จำนวน  ๔ รุ่น
               ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๐ โรงเรียนนายสิบทหารบกได้รับพระราชทาน " ธงชัยเฉลิมพล" 

ห้วงที่ ๒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๔๐
 

  •  

     ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ กองทัพบกได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงอัตราเฉพาะกิจหมายเลข ๔๑๕๐ โรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นหน่วยฝึกกำลังพลสำรองของกองทัพบก
               ๑๗ มกราคม ๒๕๓๓ กองทัพบกออกคำสั่ง ลับ (เฉพาะ) ที่ ๖๘/๓๓ ให้ปิดการบรรจุกำลังพล โรงเรียนนายสิบทหารบก และจัดตั้ง โรงเรียนการกำลังสำรอง กรมการกำลังสำรองทหารบก โดยปรับย้ายกำลังพล โรงเรียนนายสิบทหารบก ไปรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ตามอัตราของโรงเรียนกำลังสำรอง

  •  

     การผลิตนักเรียนนายสิบในห้วงที่ ๒
                - เหล่าทหารราบ  ดำเนินการเปิดหลักสูตร นนส.เร่งรัด โดยผลิตเฉพาะเหล่าทหารราบ จำนวน  ๗  รุ่น ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ - ๒๕๒๘
                - ศูนย์สงครามพิเศษ  ดำเนินการเปิดหลักสูตร นนส. โดยผลิตกำลังพลให้กับ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จำนวน  ๕ รุ่น
                - กองทัพภาค ดำเนินการเปิดหลักสูตร นนส. โดยผลิตเฉพาะกำลังพลของแต่ละกองทัพภาค จำนวน  ๒ รุ่น ในปี ๒๕๒๕ และ ๒๕๒๖
                - เหล่าสายวิทยาการ  ดำเนินการเปิดหลักสูตร นนส.  ๑ ปี ต่อเนื่องจากที่กองทัพบก ได้ปรับปรุงแก้ไข อฉก.๔๑๕๐ โรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นหน่วยฝึกกำลังสำรองของกองทัพบก เป็นต้นมา จนถึงปี ๒๕๔๐

ห้วงที่ ๓ ตั้งแต่ ๒๕๓๙ - ๒๕๔๔

  •  

     ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙  ผู้บัญชาการทหารบก ได้อนุมัติหลักการท้ายหนังสือ กรมยุทธศึกษาทหารบก ด่วนมาก ที่ กห ๐๔๐๓/๑๒๘๖๔  ให้ดำเนินการปรับปรุงการศึกษาตามหลักสูตรของนักเรียนนายสิบ  ๒ ปี ขึ้นใหม่ ซึ่งให้ศึกษาร่วมกันในชั้นปีที่ ๑ และทำการเลือกเหล่าเพื่อเรียนให้ตรงสาขาวิชา ในชั้นปีที่ ๑ เมื่อจบการฝึกเบื้องต้น โดยให้ศูนย์การทหารราบ รับผิดชอบและแยกศึกษา ณ โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการ ในชั้นปีที่ ๒ สำหรับนักเรียนนายสิบที่มีความรู้และความประพฤติดี ยังคงพิจารณาส่งไปเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร ตามอัตราส่วนที่กำหนดเช่นเดิม

  •  

     การศึกษาตามหลักสูตร ของนักเรียนนายสิบทหารบกในห้วงนี้  กองทัพบก ร่วมกับกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้นักเรียนนายสิบได้เรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) โดยได้รับความร่วมมือจาก วิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์ จัดอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้สอน รวมทั้ง ออกประกาศนียบัตรและรับรองผลการศึกษาให้

  •  

     สาขาวิชาตามหลักสูตร ปวส.แยกเหล่า

       ๑

    เหล่าทหารราบ    การจัดการงานบุคคล

      ๒

    เหล่าทหารม้า  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

     ๓

     เหล่าทหารปืนใหญ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

     ๔

    เหล่าทหารสื่อสาร    คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

     ๕

    เหล่าทหารสรรพาวุธ    คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

    ๖.

    เหล่าทหารสารวัตร     เลขานุการ

      ๗.

    เหล่าทหารการเงิน    การเงินและการธนาคาร

    ๘.

    เหล่าทหารช่าง  ช่างโยธา

    ๙.

    เหล่าทหารพลาธิการ อาหารและโภชนาการ

    ๑๐.

    เหล่าทหารการสัตว์  เกษตรศาสตร์

    ๑๑.

    เหล่าทหารขนส่ง   ช่างยนต์

     ๑๒.

    เหล่าทหารแพทย์ สาธารณสุขชุมชน

  •  

     สำหรับการศึกษาในวิชาทหาร ได้จัดตารางการฝึก - ศึกษา โดยจัดควบคู่ไปกับการศ฿กษาในวิชาสามัญในห้วงเวลาที่เหมาะสม  ซึ่งในขั้นต้นใช้กำลังพลในการปฏิบัติหน้าที่ ในโรงเรียนนายสิบทหารบก จากศูนย์การทหารราบ และจากหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพบก มาช่วยราชการ ดำเนินการผลิตนักเรียนนายสิบชั้นปีที่ ๑

  •  

      พฤษภาคม ๒๕๔๐  เริ่มเปิดการศึกษาโดยได้กำหนดนับเป็น นักเรียนนายสิบหลักสูตร  ๒ ปี (ขั้นพื้นฐาน) ชั้นปีที่ ๑ รุ่นที่ ๑/๒๕๔๐

  •  

     ๗ ตุลาคม ๒๕๔๐  กองทัพบก  อกคำสั่ง ลับ (เฉพาะ) ที่ ๑๓๒/๔๐ ให้ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงอัตราเฉพาะกิจ หมายเลข ๔๑๕๐ โรงเรียนนายสิบทหารบกอีกครั้ง และได้ดำเนินการผลิตนักเรียนนายสิบ หลักสูตร ๒ ปี (ขั้นพื้นฐาน) ชั้นปีที่ ๑ รุ่นต่อมาเป็นรุ่นที่ ๒/๒๕๔๑ และได้ตัดข้อความ " ขั้นพื้นฐาน " ออกทั้งหมดในรุ่นที่ ๓/๒๕๔๒ 

  •  

     ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๒ กองทัพบกออก  คำสั่งที่ ๒๑๔/๒๕๔๒  เรื่องให้นายทหารรับราชการ และปรับระดับเงินเดือน  โดยเริ่มบรรจุกำลังพลตามอัตราในโรงเรียนนายสิบทหารบก  ซึ่งมีที่ตั้งเดิม ณ ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี และให้เป็นหน่วยขึ้นตรง กรมยุทธศึกษาทหารบก ดำเนินการผลิตนักเรียนนายสิบ หลักสูตร  ๒ ปี ในชั้นปีที่ ๑ แล้วแยกศึกษาต่อที่โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการในชั้นปีที่ ๒ เมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) จำนวน ๕ รุ่น ในปี ๒๕๔๐ - ๒๕๔๔

ห้วงที่ ตั้งแต่ ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙

  •  

     ในปี ๒๕๔๕ กองทัพบกได้ปรับลดหลักสูตรการศึกษาเป็น ๑ ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ศึกษารวมกันที่โรงเรียนนายสิบทหารบก ระยะเวลา ๑๐ เดือน  และแยกศึกษาตามโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการ ๒ เดือน ปัจจุบันกำลังดำเนินการฝึกศึกษาให้กับ นนส.รุ่นที่ ๙ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘

ห้วงที่ ตั้งแต่ ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน

  •  

     ในปี ๒๕๕๐ กองทัพบกได้ปรับหลักสูตรการศึกษา  รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า

            - ศึกษารวมกันที่โรงเรียนนายสิบทหารบก          ระยะเวลา  ๖   เดือน  และ

            - แยกศึกษาตามโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการ       ระยะเวลา  ๖  เดือน

         ปัจจุบันกำลังดำเนินการฝึกศึกษาให้กับ นนส.รุ่นที่ ๑๓ (๒/๕๒)  ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒

  

กลับหน้าแรก  

 

Free Web Hosting